ความสำคัญ : เป็นการศึกษาภาษาไทยขั้นพื้นฐาน ที่เป็นรากฐานในเบื้องต้นไปจนถึงขั้นสูง เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในภาษาไทย โดยเริ่มตั้งแต่การได้รู้จักกับ สระ พยัญชนะ การออกเสียง การนำสระมาผสมกับพยัญชนะ คำควบกล้ำ ซึ่งการออกเสียงจะต้องศึกษาจากการฟังของคุณครูในชั้นเรียน เพื่อออกสำเนียงให้ถูกต้อง การออกเสียงของตัว รอ หรือตัว ลอ เป็นการศึกษาภาษาไทยจนสามารถ ฟัง พูด อ่าน และเขียนได้ 

ชนิดของภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษา ๆ หนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ

จุดกำเนิดของภาษา : ภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพุทธศักราช 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหง และปรากฏอย่างสากลและใช้ในงานของราชการ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ด้วยการก่อตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาขึ้น และปฏิรูปภาษาไทย พุทธศักราช 2485 (อ้างอิงจาก th.wikipedia.org)

หนังสือเรียนภาษาไทย ป.1 เล่ม 1

หนังสือเรียนภาษาไทย ป.1 เล่ม 2

หนังสือเรียนภาษาไทย ป.2 เล่ม 1

หนังสือเรียนภาษาไทย ป.2 เล่ม 2

หนังสือเรียนภาษาไทย ป.3 เล่ม 1

หนังสือเรียนภาษาไทย ป.3 เล่ม 2

หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 4 เล่ม 1

หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 4 เล่ม 2

หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 5 เล่ม 1

หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 6 เล่ม 1

หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 6 เล่ม 2

อ่านประวัติผู้แต่ง อาจารย์ รัชนี ศรีไพรวรรณ คลิก>>>ครับ

อ้างอิงมาจาก https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkdkNkOVdMdmRLems&;usp=sharing

ขอบคุณหนังสือดี ๆ ที่ทำให้เด็กไทย อ่านออก เขียนได้

เรื่องเล่าในอดีตที่เคยได้เรียนหนังสือภาษาไทย มานี มานะ :

    เมื่อสมัยตอนเด็ก ๆ จุดเริ่มต้นที่เราจะเข้าใจภาษา คือการได้ฟัง จากการพูดของพ่อ ของแม่ ซึ่งท่านได้ฝึกหัดให้เราฟัง และพูดตาม จนเราเข้าใจเอง แต่เมื่อได้เข้าศึกษาในชั้นประถมศึกษา จึงจะเริ่มได้เรียนรู้จักกับตัวหนังสือภาษาไทย ซึ่งเด็ก ๆ โดยส่วนใหญ่จะชอบดูภาพประกอบ และค่อย ๆ เรียนรู้ในแต่ละคำ โดยคุณครูจะพยายามให้เราอ่านตาม และออกเสียงให้มีเสียงดัง หูเราจะได้ฟังเสียงของเราในการออกเสียง และทำให้เราจำได้ เมื่อเราสามารถฟังที่คุณครูพูด และพูดตามคำนั้น ได้แล้ว คุณครูก็จะให้ฝึกเขียน ตามคำนั้น ๆ ที่เราเรียนในแต่ละบท ซึ่งสมองของเด็ก ๆ ในช่วงแรก ๆ จะจำคำของภาษาไทยยาว ๆ หรือหลายคำไม่ได้ จะต้องเริ่มจากคำง่าย ๆ การเขียน การอ่าน ก็เช่นกัน ซึ่งผู้เขียนก็เคยสงสัยเหมือนกันว่า รุ่นพี่ที่เรียนก่อนเรา ทำไมเวลาพี่เขาเขียนหนังสือ ทำไมถึงเขียนคำยาว ๆ หรือเขียนเป็นบทความได้อย่างมาก แต่พอเราโตมาแล้ว เราถึงรู้ได้ว่า พอโตขึ้นมาหน่อยสมองของเราก็จะเริ่มจำคำได้เยอะขึ้น หรือมีความเข้าใจในภาษาไทยได้มากขึ้น จึงทำให้เราเขียนเป็นคำยาว ๆ และเริ่มอ่านหนังสือเป็นเรื่องเป็นราวมาขึ้น ซึ่งในแต่ละบทเรียนภาษาไทย มานี มานะ นี้ เป็นจินตนาการนอกห้องเรียน ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ว่าโลกของเรานั้นกว้างใหญ่มาก มีทั้งรถไฟ ซึ่งสมัยก่อน ๆ เราอาจจะหาดูได้ยาก แต่ปัจจุบัน เราจะเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งรถ เรือ เครื่องบิน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ รวมถึงไฟฟ้าด้วย ซึ่งสมัยก่อน ๆ ถ้าในช่วงฤดูฝน หากวันไหนฝนตก ไฟฟ้าในหมู่บ้านก็จะดับ เราจะต้องจุดตะเกียง เพื่อทำการบ้านหรืออ่านหนังสือ พอคิดถึงในช่วงนั้น จึงทำให้มีความรู้สึกคิดถึง รวมถึงเพื่อน ๆ ทั้งที่เรียนด้วยกัน และเพื่อน ๆ ที่เป็นตัวละครในหนังสือมานี มานะ 

Tags: