ความเป็นมาของภูมิปัญญา |
การทำผ้าหมักโคลน เป็นภูมิปัญญาจากท้องถิ่นดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์และสืบสานแต่โบราณของไทย การค้นพบกรรมวิธีของการทำผ้าขาวม้าหมักโคนนั้น เกิดจากเมื่อสมัยที่ลูกชายได้บวชเป็นพระ จึงมีโอกาสไปทำบุญที่วัด ได้เห็นพระทำการย้อมสีผ้าอาบน้ำฝนโดยนำดินแดงมาเป็นสีย้อมผ้า จึงเกิดข้อสงสัยและซักถาม พระท่านจึงตอบว่า “ผ้าอาบแดงกรรมฐาน สารพัดประโยชน์” ผ้าอาบน้ำฝนจะใช้หินแดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาฝนเป็นสีสำหรับย้อมผ้า จากนั้นจึงพบว่าโคนจากดินแดงมีผลดีทำให้เนื้อผ้ามีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเดิม เช่นผ้าฝ้ายทอมือที่เคยแข็งกระด้าง เมื่อถูกนำถูกนำมาหมักน้ำโคนแล้วนำกลับมาซักจะทำให้เนื้อผ้ามีความนุ่มและลวดลายที่สวยงามเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน จึงได้มีการนำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น เสื้อผ้า ของใช้และของที่ระลึกรูปแบบต่างๆ เนื่องจากการทอผ้าต้องอาศัยความประณีตบรรจงสวยงามและถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกที่บริสุทธิ์ของผู้ทอ เช่น เดียวกับชาวบ้าน บ้านอูบมุงเหนือที่สืบทอดงานหัตถกรรมการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษทำให้เกิดคุณค่าทางจิตใจของผู้ที่ได้รับ เช่น ผ้าขาวม้าหมักโคลน ผ้ามัดหมี่หมักโคลนเป็นต้น การทำผ้าขาวม้าหมักโคลนกลุ่มจะเลือก เส้นใยฝ้าย ใยประดิษฐ์ อย่างดี เมื่อทอออกมาแล้วผ้าจะนุ่มใช้งานได้นานสีไม่ตก |
การเรียนรู้ภูมิปัญญา |
– เรียนรู้จากบรรพบุรุษ โดยเริ่มสังเกต และปฏิบัติจากการลองผิดถูก |
การถ่ายทอดภูมิปัญญา |
– ถ่ายทอดให้ลูกหลาน ชาวบ้าน นักเรียนนักศึกษา โดยการสาธิตและปฏิบัติจริง |
ขั้นตอน/วิธีทำ |
การทำผ้าหมักโคลน 1. เริ่มจากการนำดินโคลนจากดินจอมปลวก 15 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 30 ลิตรแล้วมากรองด้วยผ้าชาวบางเพื่อคัดกรองนำเม็ดดินออกให้เหลือแต่เนื้อโคลนล้วนๆ เพื่อทำเป็นน้ำโคลนหมักผ้า 2. นำผ้าผืนที่ทอไว้แล้วมาแช่น้ำโคลนทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปซักน้ำเปลา 1 น้ำ จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งแล้วนำไปต้มย้อมสีธรรมชาติตามที่ต้องการ การย้อมสีผ้าหมักโคลน 1. จุดไฟตั้งหม้อต้ม โดยใช้น้ำ 30 ลิตร ต่อหนึ่งหม้อ 2. ใส่สีธรรมชาติที่เตรียมไว้ (2 กิโลกรัม ต่อหม้อ) 3. ใส่เกลือ 7 ช้อนโต๊ะ ผงซักฟอก 3 ช้อนโต๊ะ 4. ใช้ไม้คนส่วนผสมให้เข้ากัน แล้วรอจนกว่าน้ำจะร้อน 5. ใส่ผ้าที่ซักโคลนออกแล้วลงหม้อ และใช้ไม้คนผ้าตลอดเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อให้สีเข้ากันดี 6. เมื่อคนจนสีเข้ากันแล้วนำผ้าออกไปซักแล้วตากให้แห้ง |
วัสดุ/อุปกรณ์ |
1 โคลน 15 กิโลกรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร
2 น้ำ 30 ลิตร (ต่อ 1 กะทะ) 3 เกลือ 7 ช้อนโต๊ะ 4 ผงซักฟอก 3 ช้อนโต๊ะ 5 ผ้าขาวบาง 1 ผืน |
ประโชยน์ในการใช้งาน |
– ใช้นุ่งห่มและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลากหลายประเภท ได้แก่ เสื้อ กางเกง ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ หมวก กระเป๋า ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น |
ขอบคุณเครดิตมาจาก :- http://is.udru.ac.th/localweb/group1/information03.html